"1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย" ชงครม.เคาะ จ้างงานบัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา 6 หมื่นคนทั่วประเทศ 30 มิ.ย.นี้
"1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย" ชงครม.เคาะ จ้างงานบัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา 6 หมื่นคนทั่วประเทศ 30 มิ.ย.นี้
เกาะติดเงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้าน รายงานข่าวจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เปิดเผยว่า โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ "1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย" ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) วงเงิน 13,500 ล้านบาท ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นในรอบแรกจากคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 แล้ว คาดว่าจะมีการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 นี้
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ "1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย" มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาและเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ร่วมทำหน้าทีเป็น System Integrator และ Regional System Integrator งบประมาณรวม 13,500 ล้านบาท โดยจะมีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา 20 คนต่อตำบล ใน 3,000 ตำบล รวม 60,000 คน
ขณะเดียวกันจะมีสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของสถาบันอุดมศึกษารายตำบล ในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการพัฒนาสินค้าและบริการชุมชน ด้านการพัฒนาการตลาดและสิ่งอํานวยความสะดวก ด้านการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานชุมชน ด้านการส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นตนเอง และการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนและด้านอื่นๆ รวม 3,000 ตำบล ในกรอบวงเงินงบประมาณ 1,710,000 บาทต่อตำบล และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวม 3,000 ตำบล ในกรอบวงเงินงบประมาณ 90,000 บาทต่อตำบล
การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา 20 คนต่อตำบล ใน 3,000 ตำบล รวม 60,000 คน ในโครงการ "1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย" มีรายละเอียด ดังนี้
1.การจ้างงานประชาชนทั่วไป ประมาณ 5 คนต่อตำบล ในอัตรา 9,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 12 เดือน
2. การจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ ประมาณ 10 คนต่อตำบลในอัตรา 15,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 12 เดือน
3. การจ้างงานนักศึกษา ประมาณ 5 คนต่อตำบล ในอัตรา 5,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 12 เดือน
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊คชี้แจงรายละเอียด โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” หรือ ที่เรียกว่า “โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” ว่าโครงการดังกล่าวจัดทำขึ้น เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชนหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ระยะเวลา 1 ปี
ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาไม่น้อยกว่า 60,000 คน ทั้งให้เกิดการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชนรวมทั้งให้เกิดการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนและให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นด้าน BCG Economy ผ่านโครงการด้านการเกษตรอัจฉริยะ พัฒนายกระดับพืชสมุนไพร พลังงานชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน โอทอป(OTOP)
รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และเอสเอ็มอี (SMEs) ในพื้นที่ ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้ จะได้รับการบูรณาการอย่างเป็นระบบตามศักยภาพของตำบลและเพิ่มประสิทธิภาพให้ตำบลด้วยทักษะความรู้และนวัตกรรม เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนและแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการโครงการในพื้นที่ เป็นไปตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง โดยใช้มหาวิทยาลัยของรัฐกว่า 80 แห่งที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ ทำหน้าที่เป็น หน่วยงานบูรณาการโครงการ ในระดับตำบล
การดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ รายตำบล ดูแลยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน อาทิ การพัฒนาสินค้าและบริการชุมชน การพัฒนาการตลาดและสิ่งอำนวยความสะดวก การส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานชุมชน การส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นตนเอง การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น
ที่สำคัญ มหาวิทยาลัยจะเป็นหน่วยจ้างงานในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบลรวมทั้งทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน
นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการบูรณาการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะมีการจัดทำระบบการบูรณาการโครงการต่างๆในอีก 2 ระดับ คือ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 9 ภูมิภาคของ อว. จะทำหน้าที่ในการบูรณาการโครงการต่างๆระหว่างชุมชนหรือตำบลในพื้นที่ ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรโครงการร่วมกัน การแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกัน
รวมถึงการเชื่อมต่อกันในโซ่คุณค่าของสินค้าและบริการ เช่นการผลิตวัตถุดิบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การบริโภคสินค้าและบริการ การท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ เป็นต้น และในระดับประเทศ อว.จะร่วมกับ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่บูรณาการโครงการและข้อมูลต่างๆในภาพรวม การประเมินผลกระทบ และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน เพื่อใช้ในการจัดทำนโยบายและกลยุทธ์ในการลดปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คาดว่าภายในเวลา 1 ปี จะมีตำบลทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 25% ของจำนวนตำบลเป้าหมาย(3,000 ตำบล) เป็นตำบลพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และไม่ต่ำกว่า 50% สามารถยกระดับเป็นตำบลที่มีความพอเพียง และ 25% เป็นตำบลที่อยู่รอดจากความยากลำบากโดยมีมหาวิทยาลัยเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง
ขอบคุณข้อมูล ฐานเศรษฐกิจ
สมัคร #บัตรเครดิต , #บัตรกดเงินสด , #สินเชื่อเพื่อธุรกิจ , #สินเชื่อบ้าน , #สินเชื่อรถยนต์ , #ประกันภัยรถยนต์ , #สินค้าทั่วไป , #ระบบชำระเงิน , #ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล , #อสังหาริมทรัพย์ , #จัดหางาน , #สินค้าอิเลคทรอนิคส์ , #สินค้าอุปโภคบริโภค , #สร้างรายได้จากการเป็นตัวแ
รายละเอียด
- ราคาหัวละ 280 บาท
- สินค้ามีแค่หัว ไม่มีสายยางให้
- ใช้กับสายยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6 cm
วิธีการใช้งาน
1. นำสายยางขนาด1.6 cm มาต่อกับหัวที่ได้รับ
2. นำสายยางฝั่งที่ต่อหัวไปเขย่าในน้ำที่ต้องการดูด โดยที่น้ำจะต้องอยู่ในระดับที่สูงกว่าปลายสาย
คุณสมบัติ
- ดูดของเหลวได้ทุกชนิด เช่น น้ำ น้ำมัน ฯลฯ
- หัวทองแดง ไม่เป็นสนิม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
โทร 088-871-1130 (แนท)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น